Last updated: 1 เม.ย 2563 | 3684 จำนวนผู้เข้าชม |
นอกจากนี้ยังเป็นโรคทางพันธุกรรม และมีปัจจัยอื่นที่โน้มนำทำให้โรคมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ความอ้วน ออกกำลังกายหนัก เสริมแคลเซียมมากเกินไป เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ เจ้าของสุนัขไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรพาสุนัขไปตรวจกับสัตวแพทย์ โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง หรือมีประวัติทางพันธุกรรมที่เคยเป็นโรคนี้ เนื่องจากการวินิจฉัยได้เร็วและได้รับการรักษาไวจะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้
สัญญาณบ่งชี้เบื้องต้นว่าสุนัขอาจมีปัญหาข้อสะโพกเสื่อม คือ ลุกยืนหรือล้มตัวลงนอนลำบาก อาจมีร้องเจ็บ ยืน 2 ขาหลังสั่น ทรงตัวไม่ดี เดินขาหลังปัด เจ็บเวลาวิ่งหรือออกกำลังกายหนัก กล้ามเนื้อฝ่อลีบ หากปล่อยเรื้อรังอาจพบแผลกดทับได้
การรักษา มีทั้งการรักษาทางยาเพื่อประคองอาการ ลดความเจ็บปวด การกายภาพบำบัดหรือเวชศาสตร์ฟื้นฟู เช่น วิธีธาราบำบัด(hydrotherapy) ว่ายน้ำหรือเดินบนลู่วิ่งในน้ำ การใช้เลเซอร์ (laser therapy) การฝังเข็ม การกระตุ้นไฟฟ้า(electrical stimulation) เป็นต้น ในรายที่รุนแรงอาจใช้การผ่าตัด เช่น การผ่าตัดหัวกระดูก (femoral head and neck exision) การเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม (total hip replacement)
7 ก.ย. 2563
7 ก.ย. 2563
7 ก.ย. 2563
7 ก.ย. 2563